บทความ : ความหมายของคุณภาพ และ ระบบคุณภาพ
คุณภาพ
คำว่า “คุณภาพ”มีความหมายได้หลายนัย เช่น
คุณภาพ คือ ของดี ของหายาก ของแพง
คุณภาพ คือ มาตรฐานความเป็นเลิศ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มีการพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป และทำให้เกิดประสิทธิผลและการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด
คุณภาพ คือ ลักษณะและคุณลักษณะของผลผลิตหรือการบริการทั้งมวลที่ทำให้เกิดผลเป็นไปตามที่ต้องการ
สรุปคุณภาพ คือ สิ่งที่ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ หรือความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ( Stakeholder)
ระบบคุณภาพ
จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพเช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือการบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้
1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือQC) หมายถึงกิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในโดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการและการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมดเช่นการสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติการควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกันโดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิตเพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)
2.การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือQA) หมายถึงการดำเนินการตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัดเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการเช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000
3. การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือQM) หมายถึงการจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้าเช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM)
YSK Consultant
โทรปรึกษาเรา :062 654 8777
วีดีโอ YOUTUBE ตรวจบ้าน ตรวจคอนโด https://bit.ly/3cwZxQP
ส่งemail คลิกyskconsultant@gmail.com
-
ความหมาย การประกันคุณภาพ หรือ quality assurance เป็นคำศัพท์ทางวิศวกรรมอุตสาหการ ที่นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง รวมถึงงานวิศวกรรมทุกสาขา เช่น วิศวกรรมการก่อสร้าง การประกันคุณภาพ หมายถึ...
-
รอยร้าวในอาคารและสิ่งปลูกสร้างประเภทของรอยร้าวอาคารสามารถจำแนกเป็นสองประเภทตามสาเหตุการเกิด1)รอยร้าวเนื่องจากการบกพร่องของโครงสร้างอาคารเมื่อโครงสร้างอาคารเกิดการเคลื่อนตัวจากภาวะท...
-
โครงสร้างของอาคารที่อยู่อาศัยแบ่งตามประเภทการก่อสร้าง คือ1)คอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่เป็นรูปแบบที่นิยมก่อสร้างโดยทั่วไปในประเทศ เนื่องจากทักษะของช่าง ความชำนาญของบุคลากรที่เกี่ยวข้...
-
ระบบพื้นโครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัยแบ่งตามประเภทการออกแบบวิศวกรรม1)พื้นและคานคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่การก่อสร้างชนิดนี้เดิมเป็นที่นิยมมาก ในปัจจุบันจะเปลี่ยนมาเป็นการใช้พื้นคอนกรี...