บทความ : ระบบพื้นโครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
ระบบพื้นโครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัยแบ่งตามประเภทการออกแบบวิศวกรรม
1)พื้นและคานคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่
การก่อสร้างชนิดนี้เดิมเป็นที่นิยมมาก ในปัจจุบันจะเปลี่ยนมาเป็นการใช้พื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปวางบนคานคอนกรีตหล่อในที่ สำหรับการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในแนวราบ เช่น บ้านหรือทาวน์โฮมสองถึงสามชั้น
2)พื้นคอนกรีตแบบFlat Slab
ลักษณะการออกแบบจะเปลี่ยนคานที่เชื่อมระหว่างเสามาเป็นพื้นที่มีความหนาและความกว้างมากขึ้น ดังนั้นความสูงFloor to Floorจะลดลง การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยแนวดิ่ง เช่น คอนโดมิเนียมจะนิยมใช้การก่อสร้างแบบนี้เนื่องจากจะได้จำนวนชั้นของอาคารมากขึ้นกว่าระบบพื้นและคาน
3)พื้นคอนกรีตอัดแรงแบบPost Tension
เช่นเดียวกับพื้นคอนกรีตแบบFlat Slab พื้นคอนกรีตอัดแรงแบบPost Tensionจะช่วยเพิ่มจำนวนชั้นของอาคารหรือพื้นที่ใช้สอยได้มากขึ้น แต่จะใช้ปริมาณคอนกรีตลดลงขึ้น เพราะพื้นสามารถมีความบางลงกว่าพื้นท้องเรียบแบบไม่อัดแรง
4)พื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปบนคาน
การก่อสร้างที่อยู่อาศัยแนวราบนิยมใช้แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปจากโรงงานมาวางพาดบนผนังหรือคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างไว้ก่อนแล้ว จากนั้นจะเทคอนกรีตทับหน้าเชื่อมระบบแผ่นพื้นนี้เข้าด้วยกันอีกครั้ง
5)พื้นวัสดุผสมเหล็กรูปพรรณและคอนกรีตเสริมเหล็ก
ในต่างประเทศจะนิยมใช้การนำแผ่นเหล็กรูปพรรณมาขึ้นรูปให้มีกำลังรับน้ำหนักแล้วพาดระหว่างคานเหล็กรูปพรรณ ก่อนจะเสริมเหล็กและเทคอนกรีตเหนือแผ่นเหล็กรูปพรรณนี้ ทำให้เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วจะมีพฤติกรรมการรับน้ำหนักร่วมกันกับแผ่นเหล็กรูปพรรณ
YSK Consultant
ติดต่อ โทรปรึกษาเรา : 062 654 8777
วีดีโอ YOUTUBE ตรวจบ้าน ตรวจคอนโด https://bit.ly/3cwZxQP
ส่งemail คลิก yskconsultant@gmail.com
1)พื้นและคานคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่
การก่อสร้างชนิดนี้เดิมเป็นที่นิยมมาก ในปัจจุบันจะเปลี่ยนมาเป็นการใช้พื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปวางบนคานคอนกรีตหล่อในที่ สำหรับการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในแนวราบ เช่น บ้านหรือทาวน์โฮมสองถึงสามชั้น
2)พื้นคอนกรีตแบบFlat Slab
ลักษณะการออกแบบจะเปลี่ยนคานที่เชื่อมระหว่างเสามาเป็นพื้นที่มีความหนาและความกว้างมากขึ้น ดังนั้นความสูงFloor to Floorจะลดลง การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยแนวดิ่ง เช่น คอนโดมิเนียมจะนิยมใช้การก่อสร้างแบบนี้เนื่องจากจะได้จำนวนชั้นของอาคารมากขึ้นกว่าระบบพื้นและคาน
3)พื้นคอนกรีตอัดแรงแบบPost Tension
เช่นเดียวกับพื้นคอนกรีตแบบFlat Slab พื้นคอนกรีตอัดแรงแบบPost Tensionจะช่วยเพิ่มจำนวนชั้นของอาคารหรือพื้นที่ใช้สอยได้มากขึ้น แต่จะใช้ปริมาณคอนกรีตลดลงขึ้น เพราะพื้นสามารถมีความบางลงกว่าพื้นท้องเรียบแบบไม่อัดแรง
4)พื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปบนคาน
การก่อสร้างที่อยู่อาศัยแนวราบนิยมใช้แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปจากโรงงานมาวางพาดบนผนังหรือคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างไว้ก่อนแล้ว จากนั้นจะเทคอนกรีตทับหน้าเชื่อมระบบแผ่นพื้นนี้เข้าด้วยกันอีกครั้ง
5)พื้นวัสดุผสมเหล็กรูปพรรณและคอนกรีตเสริมเหล็ก
ในต่างประเทศจะนิยมใช้การนำแผ่นเหล็กรูปพรรณมาขึ้นรูปให้มีกำลังรับน้ำหนักแล้วพาดระหว่างคานเหล็กรูปพรรณ ก่อนจะเสริมเหล็กและเทคอนกรีตเหนือแผ่นเหล็กรูปพรรณนี้ ทำให้เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วจะมีพฤติกรรมการรับน้ำหนักร่วมกันกับแผ่นเหล็กรูปพรรณ
YSK Consultant
ติดต่อ โทรปรึกษาเรา : 062 654 8777
วีดีโอ YOUTUBE ตรวจบ้าน ตรวจคอนโด https://bit.ly/3cwZxQP
ส่งemail คลิก yskconsultant@gmail.com